เมนู

เป็นเครื่องระงับกิเลสอันสูงสุด ที่บุคคลได้
รู้แจ้งแล้ว เป็นผู้มีสติ พึงดำเนินข้ามตัณหา
อันซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ในโลกเสียได้.
พ. ดูก่อนโธตกะ ท่านรู้ชัดซึ่งส่วน
อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งในส่วนเบื้องบน ทั้ง
ในส่วนเบื้องต่ำ แม้ในส่วนเบื้องขวางคือ
ท่ามกลาง ท่านรู้แจ้งสิ่งนั้นว่า เป็นเครื่อง
ข้องอยู่ในโลกอย่างนี้แล้ว อย่าได้ทำตัณหา
เพื่อภพน้อยและภพใหญ่เลย.

จบโธตกมาณวกปัญหาที่ 5

อรรถกถาโธตกสูตร1ที่ 5


โธตกสูตร

มีคำเริ่มต้นว่า ปุจฺฉามิ ตํ โธตกมาณพได้ทูลว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า วาจาภิกงฺขามิ คือข้าพระองค์ปรารถนาอย่าง
ยิ่งซึ่งพระวาจาของพระองค์. บทว่า สิกฺเข นิพฺพานมตฺตโน พึงศึกษา
ธรรมเป็นเครื่องดับกิเลสเพื่อตน คือพึงศึกษาอธิศีลเป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่
การดับกิเลสมีราคะเป็นต้นเพื่อตน. บทว่า อิโต คือจากปากของเรา.
1. บาลีเป็น โธตกปัญหา.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว โธตกมาณพมีความดีใจสรร-
เสริญพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทูลขอให้ปลดเปลื้องข้อสงสัย จึงกล่าวคาถา
นี้ว่า ปสฺสามหํ ดังนี้เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปสฺสามหํ เทวมนุสฺสโลเก คือ ข้าพระองค์
เห็นพระองค์ผู้เป็นพราหมณ์หากังวลมิได้ ทรงยังพระวรกายให้เป็นไปอยู่ใน
เทวโลก และมนุษยโลก. บทว่า ตนฺตํ นมสฺสามิ คือ ข้าพระองค์ขอถวาย
นมัสการพระองค์. บทว่า ปมุญฺจ คือ ขอพระองค์จงทรงปลดเปลื้อง.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงการปลดเปลื้องความ
สงสัยอันเนื่องด้วยพระองค์ จึงตรัสพระคาถาว่า นาหํ ดังนี้เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า นาหํ คมิสฺสามิ คือเราจักไม่มาถึง คือไม่
ศึกษา อธิบายว่า จักไม่พยายาม. บทว่า ปโมจนาย แปลว่าเพื่อปลดเปลื้อง.
บทว่า กกํกถึ คือความสงสัย. บทว่า ตเรสิ คือพึงข้าม.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว โธตกมาณพยิ่งดีใจหนักขึ้น
สรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้ายิ่งขึ้น เมื่อจะทูลขอให้สั่งสอน จึงกล่าวคาถาว่า
อนุสาส พฺรหฺเม ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นพรหม ขอพระองค์ทรงสั่งสอนเถิด
ดังนี้เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า พฺรหฺเม นี้เป็นคำพูดที่ประเสริฐที่สุด. ด้วย
เหตุนั้น โธตกมาณพจึงทูลเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อนุสาส พฺรหฺเม
ดังนี้. บทว่า วิเวกธมฺมํ ธรรมเป็นเครื่องสงัดกิเลส ได้แก่ธรรมคือนิพพาน
เป็นเครื่องสงัดสังขารทั้งปวง. บทว่า อพฺยาปชฺชมาโน ไม่ขัดข้องอยู่ คือ
ไม่ขัดข้องมีประการต่าง ๆ. บทว่า อิเธว สนฺโต คืออยู่ในที่นี้แหละ. บทว่า

อสิโต แปลว่าไม่อาศัย. สองคาถาจากนี้ไปมีนัยดังกล่าวแล้วในเมตตคูสูตร
นั่นแล. มีต่างกันอย่างเดียวคือในเมตตคูสูตรนั้นเป็น ธมฺมํ ในสูตรนี้เป็น
สนฺติ. กึ่งคาถาก่อนในคาถาที่สาม มีนัยดังกล่าวแล้วในเมตตคูสูตรนั้นเหมือน
กัน. ในส่วนที่ผิดกันคือบทว่า สงฺโค คือเป็นฐานะที่ข้องอยู่. อธิบายว่า
เป็นเครื่องข้อง. บทที่เหลือในที่ทั้งปวงชัดดีแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบ
เทศนาแม้นี้ด้วยธรรมเป็นยอด คือพระอรหัต ด้วยประการฉะนี้แล.
เมื่อจบเทศนาได้มีผู้บรรลุพระอรหัตเช่นเดียวกับที่กล่าวมาเเล้วนั่นแล.
จบอรรถกถาโธตกสูตรที่ 5 แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย
ชื่อปรมัตถโชติกา

อุปสีวปัญหาที่ 6


ว่าด้วยสิ่งหน่วงเหนี่ยว


[430] อุปสีวมาณพทูลถามปัญหาว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้ศากยะ ข้าพระองค์
เป็นผู้เดียว ไม่อาศัยธรรมหรือบุคคลอะไร
แล้ว ไม่สามารถจะข้ามห้วงน้ำใหญ่คือกิเลส
ได้ ข้าแต่พระองค์ผู้สมันตจักษุ ขอพระองค์
จงตรัสบอกที่หน่วงเหนี่ยว อันข้าพระองค์
พึงอาศัยข้ามห้วงน้ำคือกิเลสนี้ แก่ข้าพระ-
องค์เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า ดูก่อนอุปสีวะ
ท่านจงเป็นผู้มีสติ เพ่งอากิญ-
จัญญายตนสมาบัติ อาศัยอารมณ์ว่า ไม่มี
ดังนี้แล้ว ข้ามห้วงน้ำคือกิเลสเสียเถิด ท่าน
จงการละกามทั้งหลายเสีย เป็นผู้เว้นจากความ
สงสัย เห็นธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหาให้
แจ่มแจ้งทั้งกลางวันกลางคืนเถิด.
อุ. ผู้ใดปราศจากความกำหนัดยินดี
ในกามทั้งปวงละสมาบัติอื่นเสีย อาศัยอากิญ-